Submissions

Login or Register to make a submission.

Submission Preparation Checklist

As part of the submission process, authors are required to check off their submission's compliance with all of the following items, and submissions may be returned to authors that do not adhere to these guidelines.
  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, or RTF document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines.

Author Guidelines

(ตัวอย่างไฟล์การเตรียมต้นฉบับ)

คำแนะนำในการเตรียมบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์

(ฉบับปรับปรุง ธันวาคม 2565)

1. เกี่ยวกับวารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์

          วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ เป็นวารสารที่มีการพิจารณากลั่นกรองบทความจากผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer-reviewed scientific journal) ก่อนรับพิจารณาตีพิมพ์เป็นบทความวิจัย (Research article) และบทความวิชาการ (Review article) หรือบทความรับเชิญ (Invited article) ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ในสาขาพืชศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง เช่น ปฐพีศาสตร์ การจัดการศัตรูพืช ระบบนิเวศเกษตร ภูมิอากาศพืช พฤกษศาสตร์ ชีววิทยา ชีวเคมี ฯลฯ ของพืชในกลุ่มต่างๆ เช่น พืชกลุ่มไม้ดอกไม้ประดับ พืชผัก พืชสมุนไพร พืชเครื่องดื่ม ไม้ผล พืชยืนต้น พืชอาหารสัตว์ วัชพืช เป็นต้น ทั้งนี้ ต้นฉบับต้องไม่เคยตีพิมพ์หรือเผยแพร่ที่ใดมาก่อนและต้องไม่อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ของวารสารอื่น

          วารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ (E-journal) ในรูปแบบ Online open-access journal และไม่มีค่าใช้จ่ายในการตีพิมพ์ โดยทุกบทความที่ผ่านการพิจารณาตีพิมพ์ จะได้รับการเผยแพร่ ทางเว็บไซต์ 2 ลักษณะ คือ Online first และ Online open access (ฉบับสมบูรณ์) โดยจัดพิมพ์ปีละ 2 ฉบับ (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2564) คือ ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน และฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 

1.1 การเตรียมต้นฉบับ

พิมพ์ด้วยโปรแกรมไมโครซอฟต์เวิร์ด (Microsoft Word for Windows) เวอร์ชั่น 2003 ขึ้นไป โดยใช้ตัวอักษร (Font) แบบ TH SarabunPSK ทั้งฉบับ (เนื้อหาใช้ขนาดตัวอักษร 14) ความยาวภายหลังการจัดต้นฉบับเพื่อตีพิมพ์ไม่ควรเกิน 15 หน้า (A4) (บทความวิจัย) หรือไม่ควรเกิน 10 หน้า (บทความวิชาการ) (อ่านคำแนะนำเพิ่มเติมในข้อ 4.1 และตัวอย่างการเตรียมต้นฉบับ

1.2 องค์ประกอบของบทความวิจัย

ชื่อเรื่อง

ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ชื่อ ตำแหน่ง และที่อยู่ผู้เขียน

 

ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้ง e-mail address ของ corresponding author

บทคัดย่อ (Abstract)                 

ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ละส่วนความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ

บทนำ (Introduction)

แสดงความสำคัญของปัญหา และอาจรวมถึงวัตถุประสงค์ของการวิจัย

วัสดุ อุปกรณ์และวิธีการ (Materials and Methods)

อธิบายเกี่ยวกับวัสดุที่ใช้ รวมถึงวิธีการและอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัย หรือตัวแปรที่ใช้ในการศึกษา

ผลการทดลองและวิจารณ์ (Results and Discussion)

(หรือ ผลการทดลอง แยกส่วนกับ วิจารณ์)

บรรยายสรุปผลการวิจัยอย่างกระชับ วิจารณ์เปรียบเทียบกับผู้วิจัยอื่น ตลอดจนปัญหาข้อโต้แย้งที่อาจเกิดขึ้น การวิจารณ์นั้นประกอบด้วยหลักการที่ออกมาจากการวิจัย การเปรียบเทียบข้อมูล ผลการวิจัย และการตีความหมายของผู้อื่นตลอดจนปัญหาหรือข้อโต้แย้ง

สรุป (Conclusion)

สรุปประเด็นสำคัญ อาจรวมถึงข้อเสนอแนะและแนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์

กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) (Acknowledgement)

สำหรับแหล่งทุนสนับสนุนการวิจัย ผู้ช่วยเหลืองานวิจัยหรือการเตรียมเอกสาร แต่มิได้เป็นผู้ร่วมงานวิจัย

เอกสารอ้างอิง (References)

 

เขียนโดยใช้ระบบนาม-ปี เรียงตามลำดับอักษร และเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด   

 1.3 องค์ประกอบของบทความวิชาการ

ชื่อเรื่อง

ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

ชื่อ ตำแหน่ง และที่อยู่ผู้เขียน

 

ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้ง e-mail address ของ corresponding author

บทคัดย่อ (Abstract)                 

ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แต่ละส่วนความยาวไม่ควรเกิน 250 คำ

บทนำ (Introduction)

แสดงความสำคัญของปัญหา และอาจรวมถึงวัตถุประสงค์ของการนำเสนอบทความ

เนื้อหา

เป็นส่วนของเรื่องที่นำเสนอ มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันของเนื้อหาทุกประเด็นมีความสอดคล้องและเป็นขั้นตอน มีการแสดงความคิดเห็นในแง่มุมต่างๆ และต้องอ้างอิงแหล่งที่มาประกอบ หรือวิจารณ์เปรียบเทียบ ตลอดจนปัญหาข้อโต้แย้งที่อาจเกิดขึ้น

สรุป (Conclusion)

สรุปประเด็นสำคัญ อาจรวมถึงข้อเสนอแนะและแนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์

เอกสารอ้างอิง (References)

เขียนโดยใช้ระบบนาม-ปี เรียงตามลำดับอักษร และเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด   

2. รูปภาพและตาราง

รูปภาพหรือตารางต้องมีรายละเอียดชัดเจนและครบถ้วน โดยไม่จำเป็นต้องย้อนกลับไปดูรายละเอียดในส่วนของวิธีการ ทั้งนี้ รูปภาพหรือตารางต้องมีรายละเอียดและคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น

3. การเขียนเอกสารอ้างอิง

3.1 การอ้างอิง “ในเนื้อเรื่อง”

 ใช้ระบบนาม-ปี (Name-year System) โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

  3.1.1    นามของผู้เขียนเป็นภาษาต่างประเทศให้เขียนเฉพาะนามสกุล (Last Name)

  3.1.2   เรื่องที่มี ผู้เขียน 2 คน ให้เชื่อมด้วย "และ" ในกรณีที่ ( ) เฉพาะปี เช่น

  • Bose และ Rawat (1984) แสดงให้เห็นว่า…………………
  • กรณีที่ "ชื่อผู้เขียน-ปี" อยู่ใน ( ) และเขียนเป็นภาษาต่างประเทศให้เชื่อมด้วย "and" เช่น (ฺBose and Rawat, 1984)

 3.1.3    เรื่องที่มีผู้เขียน ตั้งแต่ 3 คนขึ้นไป ชื่อผู้เขียน-ปี อยู่ใน ( ) ให้เขียนนามสกุลเฉพาะคนแรกแล้วตามด้วย et al.   โดยต้องพิมพ์ด้วยตัวเอน เช่น (Smith et al., 1984) หากชื่อผู้เขียนอยู่นอก ( ) ให้เขียน “และคณะ" ตามนามสกุลของผู้เขียนคนแรก เช่น Smith และคณะ (1984)

 3.1.4    ผู้เขียนหลายกลุ่มอ้างอิงในเนื้อหาเดียวกัน ให้คั่นแต่ละกลุ่มด้วยอัฒภาค (;) เช่น (Paterson and Clarke, 1975; Smith et al., 1984)

3.1.5  การอ้างอิงที่ไม่ได้อ้างจากต้นฉบับแต่เป็นการอ้างต่อให้ใช้คำว่า “อ้างโดย” เช่น Smith (1984) อ้างโดย  Harrington (1989)

3.1.6 การอ้างอิงที่มาของ Figure (กรณีบทความวิชาการ) ให้ระบุ “ที่มา” เช่น ที่มา: Caplin และคณะ (2020) หรือ “Sources” กรณีเป็นภาษาอังกฤษ เช่น Sources: Caplin et al. (2020) เช่นเดียวกับการอ้างใต้ตาราง ให้ใช้รูปแบบการเขียนอ้างอิงเช่นเดียวกับข้อ 3.1.5

3.2 การอ้างอิง “ในรายการเอกสารอ้างอิง”

ทุกเรื่องที่ปรากฏในรายการเอกสารอ้างอิงต้องมีการอ้างอิงในเนื้อเรื่องที่เขียนและต้องเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น ซึ่งต้องเป็นรายการอ้างอิงที่มีข้อความเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษจากต้นฉบับ (ไม่เป็นการแปลข้อความจากภาษาไทยเป็น ภาษาอังกฤษ) เช่น ชื่อ-สกุลผู้แต่ง ชื่อบทความ/หนังสือ หรือ ชื่องานประชุมวิชาการ เป็นต้น โดยมีหลักเกณฑ์ ดังนี้

  3.2.1   เขียนเรียงลำดับตัวอักษรของผู้แต่ง

  3.2.2    เขียนชื่อทุกคนที่ร่วมเขียนเอกสาร คนแรกให้ขึ้นต้นด้วยนามสกุล ตามด้วยอักษรย่อของชื่อหน้า ชื่อกลาง (ถ้ามี) คนถัดไปเขียนขึ้นด้วยนามสกุล อักษรย่อของชื่อหน้า และชื่อกลาง (ถ้ามี) และต้องเหมือนกันทุกรายการ เช่น Atkin, E.L., Kullum, D. and Aikins, K.W.

  3.2.3   เอกสารที่มีผู้เขียนชุดเดียวกัน ให้เรียงลำดับตามปีจากเก่า-ใหม่ แต่หากเป็นปีเดียวกันให้ใส่ a b c กำกับไว้ที่ปี ค.ศ. โดยเรียงตามลำดับของเล่มที่พิมพ์หรือตามลำดับตัวอักษรของชื่อเรื่อง เช่น

Smith, C.D. 1984a. Toxicity of mineral oil.......

Smith, C.D. 1984b. Ultrasound.........................

  3.2.4    เอกสารที่มีผู้เขียนชื่อแรกเดียวกัน ให้เรียงตามปีเก่า-ใหม่ และเรียงตามอักษรของผู้เขียนถัดไป เช่น

Shotwell, O.L. 1984.........................
Shotwell, O.L. and Zwieg, D.W. 1984.......................
Shotwell, O.L. and Jones, M.L. 1991.........................
Shotwell, O.L. and Jones, M.L. 1993.........................

  3.2.5    ชื่อเรื่องและชื่อบทความ ภาษาต่างประเทศให้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ เฉพาะคำแรก ยกเว้นชื่อเฉพาะ  กรณีชื่อหนังสือ ให้ขึ้นต้นด้วยอักษรตัวพิมพ์ใหญ่ทุกคำ ยกเว้นคำบุพบทและสันธาน ส่วนชื่อวารสารให้เขียน “ชื่อเต็ม” ให้ตรงตามรูปแบบของวารสารที่อ้างอิงเท่านั้น (ไม่ใช้อักษรย่อ) เช่น PLoS ONE, Journal of Plant Nutrition, Scientia Horticulturae เป็นต้น

  3.2.6    ลำดับการเขียนและเครื่องหมายวรรคตอนให้ใช้ ดังนี้

1. วารสาร/จุลสาร (Journal/Bulletin)

ผู้เขียน. ปี. ชื่อเรื่อง. ชื่อวารสาร ปีที่: หน้า. (ไม่ต้องระบุฉบับที่ทุกรายการ) เช่น

Zeng, X.H., Cai, M.D. and Lin, W.F. 2012. Improving planting pattern for intercropping in the whole production span of rubber tree. African Journal of Biotechnology 11: 8484-8490.

กรณี วารสารที่ไม่มีการกำหนดเลขหน้าต้องระบุรหัส DOI เช่น

Caplin, N.M., Halliday, A. and Willey, N.J. 2020. Developmental, morphological and physiological traits in plants exposed for five generations to chronic low-level Ionising radiation. Frontiers in Plant Science 11: DOI:10.3389/fpls.2020.00389.

2. หนังสือ/ตำรา

การอ้างเฉพาะบทให้เขียน ดังนี้
ผู้เขียน. ปี. ชื่อเรื่อง. ใน หรือ In ชื่อหนังสือ (ชื่อบรรณาธิการหรือ ed./eds. ชื่อ editor ถ้ามี) ฉบับที่ (ถ้ามี), หน้า หรือ pp. เมืองที่พิมพ์: สำนักพิมพ์. เช่น
Harrington, J.F. 1972. Seed storage and longevity. In Seed Biology (ed. T.T. Kozlowki) Vol.III, pp. 145-245. New York: Academic Press.

การอ้างทั้งเล่มให้เขียน ดังนี้
ผู้เขียน. ปี. ชื่อหนังสือ. ชื่อเมือง: สำนักพิมพ์. และไม่ต้องระบุจำนวนหน้า. เช่น
Bewley, J.D. and Black, M. 1982. Physiology and Biochemistry of Seeds in Relation to Germination. Vol.II. New York: Springer-Verlag.

3. รายงานสัมมนา/ประชุมทางวิชาการ (Proceedings)

ผู้เขียน. ปี. ชื่อเรื่อง. ชื่อสัมมนา, ชื่อบรรณาธิการ (ถ้ามี), สถานที่, วันสัมมนา, หน้าของเรื่อง. เช่น
Hill, M.J., Archer, K.A. and Hutchinson, K.J. 1989. Towards developing a model of persistence and production for white clover. Proceedings of the XIII International Grassland Congress, Nice, France, 4-11 October 1989, pp. 1043-1044.

4. วิทยานิพนธ์

ผู้เขียน. ปี. ชื่อเรื่อง. วิทยานิพนธ์ ชื่อปริญญา ชื่อมหาวิทยาลัยหรือสถาบัน. เช่น
Phillips, O.C., Jr. 1962. The Influence of Ovid on Lucan's Bellum Civil. Ph.D. Dissertation. University of Chicago.

5. การอ้างอิงเอกสาร/ข้อมูลที่ค้นคว้าข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ และอื่นๆ

1) การอ้างอิงเอกสารที่ค้นคว้าข้อมูลจากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้ใช้แนวการเขียนข้างต้น โดยให้เพิ่มข้อมูลให้ครบถ้วนสมบูรณ์ ดังนี้ ผู้แต่ง. ปี. ชื่อเรื่อง. เข้าถึงได้จาก: เว็บไซต์ [เข้าถึงเมื่อ]. เช่น
Malaysian Palm Oil Industry. 2011. Oil Palm in Malaysia. Available from: http://www.palmoilworld.org/about_malaysian-industry.html [accessed 5 June 2013].
2)

2) ถ้าไม่มีชื่อผู้แต่งให้ใช้ชื่อหน่วยงานหรือองค์กรเจ้าของเวปไซต์

หมายเหตุ: บทความที่ได้รับพิจารณาตีพิมพ์ในวารสารฯ ตั้งแต่ปีที่ 7 (2563) เป็นต้นไป รายการอ้างอิงต้องใช้รูปแบบเป็นภาษาอังกฤษเท่านั้น

4. กำรจัดเตรียมและส่งต้นฉบับ
4.1 ขั้นตอนสำคัญและคำแนะนำในการจัดเตรียมต้นฉบับ
4.1.1 ต้องจัดส่งไฟล์ต้นฉบับ 2 ชุด คือ ไฟล์ MS Word และ ไฟล์ PDF (ต้นฉบับเดียวกับ MS Word) พร้อมระบุเลขหน้า (มุมขวาบน) และระบุเลขบรรทัด (Line numbers) กำกับในต้นฉบับทุกหน้า

4.1.2 E-mail address สำหรับการติดต่อในระบบวารสารฯ ไม่จำเป็นต้องเป็นของ Corresponding author แต่ควรเป็นอีเมล์ที่สะดวกในการติดต่อประสานงานและติดตามสถานะบทความ

4.1.3 ในไฟล์ต้นฉบับทั้ง 2 ชุด บางองค์ประกอบของบทความวิจัย ควรแยกไว้คนละหน้า เช่น ส่วนของ บทคัดย่อ / Abstract / แยกจากบทนำ รวมทั้ง เอกสารอ้างอิง / รูปภาพ / ตาราง ไว้ส่วนท้าย

4.1.4 รูปภาพหรือตาราง ให้แยกไว้ส่วนท้ายสุดของเนื้อหา โดยระบุลำดับที่ต้องการแทรกไว้ในเนื้อหาและต้องใช้ตัวอักษร (Font) แบบ TH SarabunPSK ทั้งในรูปภาพและเนื้อหาตาราง

4.1.5 ผู้แต่งต้องเสนอรายชื่อผู้ทรงคุณวุฒิที่มีสาขาเกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทความวิจัยจำนวน อย่างน้อย 3 ท่าน โดยระบุ ตำแหน่ง ชื่อ-สกุล หน่วยงานต้นสังกัด และอีเมล์ (แนบไฟล์หรือกรอกในระบบวารสารฯ) ทั้งนี้ ต้องไม่สังกัดหน่วยงานเดียวกันกับผู้แต่ง (เช่น ไม่สังกัดระดับภาควิชาและคณะเดียวกัน) โดยควรอยู่ต่างสังกัดหน่วยงานและยังคงปฏิบัติงานในต้นสังกัดทุกท่าน กรณีผู้เกษียณให้วงเล็บ (นักวิจัยอิสระ) พร้อมระบุที่ติดต่อทางไปรษณีย์และอีเมล์

* กรณีผู้แต่งจัดเตรียมต้นฉบับไม่ครบถ้วนตามข้อกำหนดข้างต้น กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งพิจารณาตีพิมพ์ตามเห็นสมควร และอาจส่งคืนต้นฉบับมายังผู้เขียนเพื่อแก้ไขหรือปรับปรุงเพิ่มเติมหรือไม่รับพิจารณาตีพิมพ์แล้วแต่กรณี และอาจล่าช้าในการดำเนินงาน

4.2 การส่งผ่านทางระบบวารสารออนไลน์ SJPS (SJPS Online Submission)

ผู้ส่งต้องสมัครสมาชิก (Log in) พร้อมกรอกข้อมูลและอีเมล์ (E-mail) สำหรับการติดต่อและรับทราบข้อมูลสถานะของบทความผ่านทางระบบวารสารฯ หรือกรณีไม่สามารถจัดส่งผ่านทางระบบวารสารฯ สามารถติดต่อสอบถามมาทางอีเมล์ของกองบรรณาธิการ คือ E-mail: sjps.fnr@gmail.com

5. การดำเนินการและพิจารณาต้นฉบับ

กองบรรณาธิการขอสงวนสิทธิ์ในการตรวจแก้ไขเรื่องที่จะส่งพิจารณาตีพิมพ์ตามเห็นสมควร และอาจส่งคืนต้นฉบับมายังผู้เขียนเพื่อแก้ไขหรือปรับปรุงเพิ่มเติมแล้วแต่กรณี โดยทุกบทความจะผ่านการพิจารณากลั่นกรองจากผู้ทรงคุณวุฒิอย่างน้อย 2-3 ท่าน ทั้งนี้ กองบรรณาธิการจะให้ความสำคัญถึงคุณภาพของบทความโดยพิจารณาถึงประเด็นสำคัญอื่นๆ ด้วย ได้แก่

5.1 Plagiarism

บทความที่ส่งพิจารณาตีพิมพ์ต้องไม่เข้าข่ายลักษณะซ้ำซ้อนหรือการลอกเลียนผลงานผู้อื่น (Plagiarism) ทั้งนี้ หากพิจารณาแล้วเข้าข่ายความซ้ำซ้อนหรือได้รับการร้องเรียน ฯลฯ และขอสงวนสิทธิ์ให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุดในการพิจารณาไม่รับหรือถอดถอนบทความดังกล่าว หรือพิจารณาตามความเหมาะสมแล้วแต่กรณี

5.2 รูปแบบการจัดเตรียมต้นฉบับ

บทความที่ส่งพิจารณาตีพิมพ์จะต้องปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องและตรงกับรูปแบบการจัดเตรียมต้นฉบับของวารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ จึงจะได้รับการพิจารณาให้ตีพิมพ์จากกองบรรณาธิการ และขอสงวนสิทธิ์ให้ถือมติของกองบรรณาธิการเป็นที่สิ้นสุดในการไม่รับพิจารณาบทความดังกล่าว

หมายเหตุ: ข้อความและบทความในวารสารเป็นความคิดเห็นของผู้เขียนโดยเฉพาะ กองบรรณาธิการไม่มีส่วนรับผิดชอบในเนื้อหาและข้อคิดเห็นนั้นๆ แต่อย่างใด

6. การเผยแพร่บทความที่ผ่านการพิจารณา

6.1 Online first

บทความที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และผ่านการตรวจสอบความถูกต้องจากกองบรรณาธิการแล้ว จะได้รับการตีพิมพ์ในรูปแบบ Online first ทางเว็บไซต์ภายใน 2 สัปดาห์ กรณีเจ้าของบทความพบว่ายังมีข้อผิดพลาดควรรีบแจ้งทางกองบรรณาธิการเพื่อแก้ไข

6.2 Online open access

บทความที่ได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสารพืชศาสตร์สงขลานครินทร์ จะได้รับการเผยแพร่ไฟล์บทความฉบับสมบูรณ์ (Full text) ในรูปแบบของ PDF และผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดไฟล์ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย 

013-Invited article

 

 

Special issue 1: Sustainable rubber plantation management

Special issue 1: การจัดการสวนยางพาราอย่างยั่งยืน
Keywords: เขตกรรมยางพารา; นิเวศเกษตรสวนยางพารา; การผลิตน้ำยาง; การผลิตไม้ยาง; พืชร่วมยางพารา; การจัดการดินและปุ๋ย; วนเกษตรสวนยางพารา; การกักเก็บคาร์บอน; หลักสภาพิทักษ์ป่า (FSC); รวมถึงการจัดการสวนยางพาราที่เกี่ยวข้องโมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน (BCG) 
Deadline: 30 ก.ย. 66
Editorial board for section: รศ.ดร.ระวี เจียรวิภา; ศ.ดร.บัญชา สมบูรณ์สุข; Dr. Zar Ni Zaw

Privacy Statement

The names and email addresses entered in this journal site will be used exclusively for the stated purposes of this journal and will not be made available for any other purpose or to any other party.